วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มีน้ำยาล้างรถเอนกประสงค์ L.O.C. มาแนะนำครับ ของดีต้องแบ่งปัน

คุณประโยชน์
- ใช้ล้างและเคลือบเงาในขั้นตอนเดียว โดยไม่ต้องล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง
- ขจัดคราบสกปรก คราบน้ำมัน ซากแมลง ฯลฯ ได้ดี
- ประหยัด เวลา น้ำ สถานที่ เงิน
- เป็นแชมพูที่เข้มข้นจึงใช้ปริมาณน้อย

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน
ใช้ซักผ้า-ล้างจาน-อาบ-ล้างหน้าวันก่อนน้ำยาซักผ้าหมดพอดี จึงได้ทำใหม่ สูตรนี้เราทำแบบพอเพียงคือค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เกิน 100 บาท ทำได้ประมาณ 8-10 ลิตรสามารถนำไปใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างหน้า หรืออาบน้ำ ได้ ประหยัดได้หลายทาง แต่ขอบอกก่อนว่าสูตรนี้ไม่มีกลิ่นน้ำหอมเนื่องจากเราเน้นเรื่องความพอเพียง
และหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ไม่จำเป็น ลองคำนวณการลดค่าใช้จ่ายดูเช่น

1. ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำยาล้างจาน
2. ไม่ต้องจ่ายค่าสบู่อาบน้ำ (ใช้แล้วผิวนุ่มกว่าใช้สบู่)
3. ลดการจ่ายค่าน้ำยาซักผ้าเดือนละ 300 บาท เหลือเพียง 100 บาท
ได้น้ำยาประมาณ 12 ลิตร รวมแล้วต่อเดือนเราจะประหยัดเงินได้เกือบ 400 บาทเชียวนะ
ส่วนผสมคือ1. ตัวน้ำยาซักผ้าหรือซักล้างใช้สาร N 70 ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท
2. เกลือเพื่อใช้ปรับความหนืดความข้น ความเหลวของน้ำยาประมาณ 1 ก.ก. (12 บาท)

3. น้ำชีวภาพอัญชันที่เราหมักได้จากการแนะนำคราวที่แล้ว สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย และให้สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด ประมาณ 1 แก้ว (ขวดน้ำผลไม้ 250 มล.) 4. น้ำเปล่า 8-10 ลิตร
ขั้นตอนการทำ1. เตรียมส่วนผสมทั้ง 4 อย่าง
2. เท N 70 ใส่ลงในถังใช้ไม้พายคนเบาๆไปทางเดียวกัน ให้ขึ้นขาวฟู ถ้าหนืดเกินไป รู้สึกหนักมือให้ค่อยๆโรยเกลือลงไป (หรืออาจผสมน้ำเกลือใช้แทนได้)
3. จากนั้นค่อยๆใส่น้ำชีวภาพอัญชันเพื่อให้มีสีสวยงาม
4. ทีนี้ก็ทำสลับกันเรื่อย ถ้าหนืดเหนียวให้เติมเกลือ แล้วเติมน้ำ ถ้าเหลวไปจากการเติมน้ำมากก็เติมเกลือ จะทำให้หนืดข้นเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนส่วนผสมที่เตรียมไว้หมด
สุดท้ายตรวจดูความเหลวตรงความพอใจของเรา ทิ้งไว้ 1 คืนอาจทำให้หนืดขึ้นอีกเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว รุ่งเช้าน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้ จะใสและไม่มีฟอง จากนั้นให้เรากรอกใส่ภาชนะที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เราจะได้น้ำยาสีสวย สีม่วง-อมชมพู
จากการใช้มาอย่างต่อเนื่อง น้ำยาอเนกประสงค์อัญชันจะมีการเปลี่ยนสีเนื่องจากเราไม่ใส่ผงสีในขั้นตอนการทำ
ดังนั้นสีจึงซีดง่ายกลายเป็นสีขาว
วิธีการแก้ไข : ผู้เขียนเติมหัวเชื้อชีวภาพอัญชันที่หมักไว้ลงไป 1 หยดหรือมากกว่า แล้วแต่ชอบ เขย่าให้เข้ากัน ก็ได้สีสวยดังเดิม

สรุปเปรียบเทียบ - จากการใช้ได้เห็นความแตกต่างคือ
- หากลืมตากผ้าในทันที ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ผ้าก็ไม่เหม็นทั้งนี้เนื่องจากน้ำชีวภาพอัญชัน
มีสรรพคุณดับกลิ่น กำจัดแบคทีเรีย/จุลินทรีย์ตัวร้าย
- เมื่อใช้ล้างจาน มือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ใช้สารขจัดคราบ หากในบางจุดของภาชนะยังมี
ความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพอัญชันลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดี

ที่สำคัญคือ เราเกิดความภาคภูมิใจที่เราสามารถนำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ปล่อยให้เป็นขยะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งการทำความดีเพื่อในหลวงค่ะ

- ใช้ทำความสะอาดได้ตามสภาพความสกปรก
เช่น ใช้ล้างตามปรกติเมื่อมีความสกปรกจากดินหนาหรือโดยน้ำทะเล
ใช้วิธีพ่นและเช็ดแห้งในสภาพที่มีดินทรายไม่มาก
คุณสมบัติพิเศษ สามารถใช้ทำความสะอาด วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ได้ดี
ล้างรถได้เอง โดยไม่ต้องใช้น้ำ ล้างได้ทุกที่ ง่ายเพียงฉีดแล้วเช็ด ครั้งละ 4 บาท เท่านั้น

สนใจ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.facebook.com/pages/LOC-wash-wax/208480285913161

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นำยาอเนกประสงค์



1.ชื่อเรื่อง   การทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูด
2.ชื่อผู้ร่วมดำเนินการจัดการความรู้               
2.1  ชื่อผู้บริหาร  นายสมาน ขอดจันทึก  เกษตรอำเภอโนนสูง                
2.2  ชื่อสกุลผู้ดำเนินการ  นางสิริพร หมีทอง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว                
2.3  ชื่อสกุลผู้จดบันทึก  นางสาวอาจรี วิเศษศรี   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว                
2.4  ชื่อสกุลเจ้าขององค์ความรู้  นางถนอมสิน จูงกลาง บ้านเลขที่ 5  หมู่ที่ 6   ตำบลใหม่   อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา
3.วันเดือนปี  ที่ดำเนินการจัดการความรู้    29  กรกฏาคม  2551
4.  สถานที่ดำเนินการจัดการความรู้  ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุม  หมู่ที่ 6  ตำบลใหม่  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา
5.   ส่วนนำ   มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 3 เมตร ในชนบทมีการปลูกมะกรูดเพื่อใช้สอยแทบทุกครัวเรือน ใบมะกรูดนำไปซอยหรือเด็ดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ปรุงรสในต้มยำ เปลือกผลมะกรูด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ตำรวมเป็นน้ำพริกแกง มะกรูดทั้งผลนำไปวางในห้องน้ำทำให้มีกลิ่นหอม    นอกจากนี้บางคนยังได้นำผลมะกรูดไปสระผมทำให้ผมสลวยสวยงาม  จากประโยชน์ที่ได้กล่าวมา  มะกรูดจึงเป็นพืชหนึ่งที่มีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เช่นเป็นส่วนผสมของแชมพูสระผม  น้ำยาล้างจาน
6.  เนื้อหา 
      นางถนอมสิน  จูงกลาง ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2539 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง ได้เข้ามาส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้การทำน้ำยาล้างจานสำหรับไว้ใช้ในครัวเรือน ต่อมาปี 2548 ได้รับการฝึกอบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพโดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้มาให้ความรู้ถึงประโยชน์ของสารที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรอีกหลาย ๆชนิด และรวมถึงประโยชน์จากผลมะกรูดที่สามารถนำมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพใช้ทำน้ำยาล้างจานได้ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังจากการอบรมแล้วก็ได้นำความรู้มาปรับปรุงส่วนผสมการหมักผลมะกรูด  ต่อมาปัจจุบันก็ได้นำสูตรการหมักผลมะกรูด  มาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุมสำหรับจำหน่ายให้กับสมาชิกและบุคคลทั่วไป



น้ำหมักชีวภาพสูตรมะกรูด
ส่วนประกอบ
                1. มะกรูดแก่                         3              กิโกกรัม
                2. น้ำตาลทรายแดง              1              กิโลกรัม
                3. น้ำเปล่า                             10           ลิตร
วิธีทำ
                1. ใส่ตาลทรายแดง และน้ำลงไปในถังหมักคนให้ละลาย
                2. นำผลมะกรูดล้างให้สะอาด หั่นมะกรูดตามขวางหรือเป็นแว่น
                3. ใส่มะกรูดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 3 เดือน จึงนำมาใช้ได้
ข้อควรระวัง    ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดหรือถูกฝน
  
น้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูด
ส่วนประกอบ
                1. N70                                    1              ส่วน
                2. เกลือ                                  1              กิโลกรัมต่อน้ำ 2.5 ลิตร
                   (นำมาทำน้ำเกลือ โดยต้มน้ำเกลือ 1 ก.ก.ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พอเกลือละลายกรองเอาแต่น้ำสะอาด)
                3. น้ำหมักมะกรูด 1              ลิต ร+ น้ำ 6 ลิตร
วิธีทำ
                1. นำ N70 มาใส่ภาชนะ ใช้ไม้พายคนให้ละลายโดยคนไปทางเดียวกัน
                2. คอยใส่น้ำเกลือทีละน้อย ๆ พร้อมกับคนไปเรื่อย ๆ จนหมด
                3. เติมน้ำหมักมะกรูดเช่นเดียวกับเติมน้ำเกลือ พร้อมกับคนไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วตั้งทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ฟองหมดจึงบรรจุใส่ขวด
ประโยชน์   ใช้ล้างจาน , ใช้ซักผ้า , ใช้ชะล้างอื่น ๆ

7. ส่วนสรุป : การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลมะกรูดก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่มีการพัฒนาวิธีการใช้ประโยชน์จากมะกรูดอย่างต่อเนื่อง การทำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนมาก นอกเหนือจากนำมาใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถนำมาจำหน่ายในชุมชนทำให้มีรายได้เพิ่มและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีก  สำหรับเกษตรกรอีกหลาย ๆ คนจะลองหันมาทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูดดูบ้างก็ไม่เป็นการผิดกติกาอย่างใด  ซึ่งถ้าหากสนใจผลิตภัณฑ์จากน้ำหมักมะกรูดหรือต้องการจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ นางถนอมสิน  จูงกลาง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุม หมู่ที่  6  ตำบลใหม่  อำเภอโนนสูง   จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 08-17899022




อาหารสมุนไพร

เมี่ยงคำ

เมี่ยงคำเป็นอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นชะพลูออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและรสชาติดีแต่จริงๆ แล้วเมี่ยงคำสามารถรับประทานเป็นอาหารว่างได้ตลอดทั้งปี แล้วแต่ว่าจะมุ่งรับประทานเพื่อความอร่อยหรือจะรับประทานเพื่อการดูแลสุขภาพ (การปรับสมดุลธาตุในร่างกาย) วัตุดิบในการทำเมี่ยงคำ
  1. ใบชะพลู หรือใบทองหลาง
  2. มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่ว
  3. หอมแดงหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า
  4. ขิงหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
  5. มะนาวหั่นทั้งเปลือกเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
  6. พริกขี้หนูซอย
  7. ถั่วลิสงคั่ว
  8. กุ้งแห้ง (เลือกที่เป็นชนิดจืด)
น้ำราดเมี่ยงคำ
  1. น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
  2. กะปิ (เผาเพื่อเพิ่มความหอม)
  3. น้ำปลาอย่างดี 1 ถ้วย
  4. ข่าหั่นละอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  5. ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
  6. กุ้งแห้งโขลกละเอียด 1/4 ถ้วย
ขั้นตอนการทำ
  1. คั่วมะพร้าว ในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน จนได้มะพร้าวคั่วที่กรอบหอม
  2. ทำน้ำราดเมี่ยงคำ โดยเริ่มจาก ตำโขลก ตะไคร้ ข่า หอมแดงเข้า และกะปิเข้าด้วยกันให้ละเอียด เคี่ยวจนน้ำราดเมี่ยงคำเริ่มเหนียว ยกลงแล้วใส่กุ้งแห้งคั่ว
  3. เคี่ยวน้ำตาลปี๊บด้วยไฟปานกลาง และเติมน้ำปลาลงไป
  4. ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงไป คนให้เข้ากัน
  5. อาจเสริ์ฟเป็นคำๆ โดย ห่อเครื่องต่างๆ ด้วยใบชะพลู หรือใบทองหลาง แล้วเสียบไม้จิ้มฟันเป็นคำไว้ แล้วตักน้ำราดเมี่ยงคำใส่ถ้วยแยกไว้ต่างหาก
วิธีการจัดรับประทานให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลู หรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ รับประทาน
สรรพคุณทางยา
  1. มะพร้าว รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
  2. ถั่วลิสง รสมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุดิน
  3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
  4. ขิง รสหวาน เผ็ดร้อน แก้จุดเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
  5. มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
  6. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
  7. ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม
  8. ใบทองหลาง ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตับพิษ
  9. ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
  10. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
ประโยชน์ทางอาหารเมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม
คุณค่าทางโภชนาการเมี่ยงคำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 659 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
  • โปรตีน 114 กรัม
  • ไขมัน 88.6 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 370.7 กรัม
  • กาก 9.6 กรัม
  • ใยอาหาร 13.4 กรัม
  • เถ้า 6.4 กรัม
  • แคลเซียม 1032 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 1679.1 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 51.1 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 4973.7 IU
  • วิตามินบีหนึ่ง 140.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 1.7 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 35.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 186.4 มิลลิกรัม

อาหารสมุนไพร

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอพันดุ

มะละกอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาหารจากมะละกอ


 
มะละกอ มะละกอ มะละกอ ในครัวของหมอชาวบ้านเดือนนี้เต็มไปด้วยมะละกอทั้งดิบและสุก ตอนแรกเราคุยกันว่าจะทำอาหารจากมะละกอหลายประเภท เพื่อขานรับการแนะนำมะละกอในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าของคุณเดชา อาหารที่หลายๆ คนช่วยกันนึก (ด้วยความอยากกิน) คือ
  • ส้มตำ
  • แกงส้มมะละกอ
  • แกงเหลืองมะละกอ
  • แกงป่ามะละกอ
แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นร่วมกันว่า อาหารเหล่านี้ชาวหมอชาวบ้านคงกินกันจนเบื่อแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มตำ ซึ่งจะว่าไปแล้วสูตรของใครก็ของคนนั้น เราจึงเปลี่ยนแผนขอเป็นการทำอาหารจากมะละกอที่มักถูกมองข้าม คือ ผัดมะละกอ และมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก เพราะเวลาทำอาหารแบบนี้มะละกอมักถูกมองข้ามพืชผักชนิดอื่นมักถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่มะละกอเป็นพืพชผลที่หาได้ไม่ยาก ปลูกไว้ข้างบ้านสักต้นสองต้นก็พอกินได้ตลอดปี ที่สำคัญปลอดสารพิษฆ่าแมลง
คุณอาจจะลองทบทวนดูก็ได้ คุณจะพบว่า คุณมักผัดบวบใส่ไข่หรือใส่กุ้งบ่อยครั้ง แต่คุณแทบจะไม่นึกถึงมะละกอใส่ไข่เลย หรือเวลาคุณหาผักจิ้มน้ำพริก คุณจะนึกถึงชะอมมะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ หรือแม้แต่มะระขี้นก แต่ดิฉันอยากจะบอกคุณว่ามะละกอต้ม (จะราดกะทิหรือไม่ราดก็ได้) จิ้มน้ำพริกนั้นอร่อย ปลอดจากสารพิษ น่าลิ้มลองจริงๆ และเห็นจะขาดไม่ได้คือมะละกอสุกซึ่งกินได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างเยี่ยมยอด แต่หลายๆ คนไม่ชอบกินมะละกอสุก บางคนไม่ชอบกินเพราะเห็นมันเละๆ ดูท่าทางไม่น่าอร่อย
วันนี้ดิฉันมีข้อแนะนำในการปอกมะละกอสุกให้ดูน่ากิน เริ่มต้นดังนี้นะคะ
1. หั่นมะละกอตามขวาง ขนาดพอประมาณ
2. แบ่งเป็นส่วนๆ ถ้าใช้แนวร่องของมะละกอก็จะยิ่งสวย
3.ใช้มีดคมๆ ปอกเปลือกทีละชิ้น (ตามรูป)
เคล็ดลับ คือ พยายามลงมือไถไปเพียงครั้งเดียวในแต่ละขั้น และมือควรจะแห้งและสะอาด ก่อนปอกล้างเปลือกมะละกอให้สะอาด และหาผ้าเช็ดให้แห้งก่อน ลองปอกแบบนี้ดูนะคะ ไม่แน่ว่าคนที่ไม่ชอบมะละกออาจจะเปลี่ยนมาชอบก็ได้ อย่าลืมเก็บเมล็ดมะละกอไว้ปลูกด้วยนะคะ
มะละกอ
มะละกอขณะออกผล
มะละกอขณะออกผล
Commons
มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

[แก้] ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม
สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องเกี่ยวกับกล้วยๆๆๆๆๆๆๆ




ระวัติกล้วย
กล้วยประเทศไทย นั้น เดิมเป็นกล้วยป่าต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่น ในช่วงที่มีการอพยพของคนำทยในการตั้งถิ่นฐาน
อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารเขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ (1963) กล่าวว่า ในสมัยอยุธยาที่เขาได้เดินทางมาเขาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี และในปี ค.ศ. 2484 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมพันธุ์กล้วยไว้บ้างในบางช่วง และสูญหายไป ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวลรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันการปลูกกล้วยในประเทศไทย จอกจากจะปลูกเพื่อบริโภคในประเทศแล้ว ยังส่งกล้วยหอมทองไปขายยัง ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกงและยุโรป แต่ปริมาณการส่งออกลดลงทุกปี ๆ เพราะคุณภาพของกล้วยหอมทองไม่เหมาะในการส่งออกต่างประเทศเนื่อง จากสุกง่ายและเปลือกบาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำได้ทำการศึกษาถึงสายพันธุ์กล้วยซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศพบว่า ประเทศไทยสามารถ ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้ดี







 ชื่อวิทยาศาสตร์




 Musa sp.




 ชื่ออื่น ๆ
 ¡กล้วยไข่ , กล้วยใต้ , กล้วยส้ม กล้วยหอม , กล้วยนาก ,กล้วยน้ำว้า , กล้วยเล็บมือนาง , กล้วยหอมจันทร์ , กล้วยหักมุก , กล้วยมณีอ่อง




จำแนก
 
ประเภทใบ และ ประเภทลูก




ประเภทของกล้วย
กล้วย ทั่วโลกมีกล้วยอยู่ประมาณ 200-300 ชนิด สำหรับชนิดของกล้วยที่มีในประเทศไทยนั้นได้เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2524 ชึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. กล้วยป่าออร์นาตา ปลูกกันแถบภาคเหนือ นิยมเรียก "กล้วยบัว" หรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า "กล้วยป่า" (ลำปาง)2. กล้วยป่าอะคิวมินาตา กล้วยในกลุ่มนี้มีแพร่หลายในประเทศไทย แต่ละถิ่นอาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น ที่จังหวัดสงขลา เรียก "กล้วยทอง" ที่จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดลำปาง เรียก "กล้วยแข"3. กล้วยในสายพันธุ์อะคิวมินาตา คัลทิฟาร์ กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด ได้แก่
      กล้วยเล็บมือนาง ปลูกกันมากในภาคใต้ บางท้องถิ่น เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยหมาก" จังหวัดพัทลุง เรียก "กล้วยทองหมาก" ส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เรียก "กล้วยเล็บมือ"
      กล้วยทองร่วง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยไข่ทองร่วง" ที่จังหวัดสงขลา เรียก "ค่อมเบา"
      กล้วยไข่ ปลูกกันทั่วไป ที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก "เจ็กบง"
      กล้วยหอม ปลูกในสวนหลังบ้านแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      กล้วยหอมทองสาน ปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      กล้วยสา ปลูกกันมากภาคใต้
      กล้วยนมสาว ปลูกกันมากภาคใต้
      กล้วยลาย ปลูกกันมากภาคใต้
      กล้วยทองกาบดำ ปลูกกันมากภาคใต้เช่นกัน
      กล้วยนาก กล้วยชนิดนี้มีการเรียกต่างกันหลายแห่ง ที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยน้ำครั่ง" จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียก "กล้วยกุ้ง" ส่วนที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก "กล้วยครั่ง"
      กล้วยหอมทอง ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก "หอมทอง" นิยมรับประทานสดมากที่สุด
      กล้วยหอมเขียว ที่จังหวัดแพร่ เรียกกล้วยคร้าว จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยเขียวคอหักหรือกล้วยเขียว" ส่วนที่จังหวัดพะเยา เรียก "กล้วยหอมคร้าว"
      กล้วยกุ้งเขียว เป็นลูกผ่าเหล่าของกล้วยนาก ที่จังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยหอมทอง"
      กล้วยหอมค่อม ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก "กล้วยเตี้ย" จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก
      กล้วยไข่บอง ที่จังหวัดนครราชสีมา เรียก "กล้วยไข่พระตะบอง"
      กล้วยดอกไม้ เมื่อสุกผลจะเป็นสีทอง จัดอยู่พวกเดียวกับกล้วยหอมทอง
4. กล้วยป่าบาลบิเชียน่า นิยมเรียก "กล้วยตานี" มีแพร่หลายทั่วประเทศไทย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยพองลา" ส่วนที่จังหวัดแพร่และจังหวัดลำปาง เรียก "กล้วยป่า"5. กล้วยลูกผสมอะคิวมินาตากับบาลบิเชียน่า กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด ได้แก่
      กล้วยลังกา ที่จังหวัดพัทลุง เรียก "กล้วยจีน"
      กล้วยเงิน เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยาก มีเฉพาะที่จังหวัดสงขลา
      กล้วยน้ำพัด ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก "กล้วยน้ำกาบดำ"
      กล้วยทองเดช มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
      กล้วยนางนวล มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
      กล้วยไข่โบราณ มีเฉพาะที่จังหวัดตราด เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยากเช่นกัน
      กล้วยน้ำ มีหลายถิ่นเรียกต่างกัน ที่จังหวัดนครนายก เรียก "กล้วยหอมนางนวล" จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยแก้ว" จังหวัดสกลนายกและจังหวัดชัยภูมิ เรียก "กล้วยหอม" จังหวัดยโสธร เรียก "กล้วยหอมเล็ก" และที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียก "กล้วยหอมจันทร์"
      กล้วยขม เป็นกล้วยที่มีรสขมเช่นเดียวกับ ชื่อ ปลูกมากที่ภาคใต้
      กล้วยขมนาก ปลูกมากแภบภาถใต้
      กล้วยร้อยหวี หรือ กล้วยงวงช้าง ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย นิยมเป็นไม้ประดับ
      กล้วยนมหมี ที่จังหวัดอ่างทอง เรียก "กล้วยแหกคุก"
      กล้วยปลวกนา มีการปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครนายก เรียก "กล้วยน้ำไทย" จังหวัดยโสธร เรียก "กล้วยส้ม" และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก "กล้วยทิพย์ใหญ่"
      กล้วยน้ำว้า ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ที่จังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยน้ำว้าเหลือง" จังหวัดเชียงราย เรียก "กล้วยใต้"
      กล้วยน้ำว้าค่อม มีลักษณะแคระ กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้า
      กล้วยน้ำว้าขาว เนื้อของผลมีสีขาว กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้า
      กล้วยน้ำว้าแดง เนื้อของผลมีสีแดง กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้าเช่นกัน บางทีเรียกต่างกัน ที่จังหวัดชัยภูมิ เรียก "กล้วยอ่อง" จังหวัดนครสวรรค์ เรียก "กล้วยสุกไสแดง" ส่วนจังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยน้ำว้าในออก"
      กล้วยเทพรส ที่จังหวัดเชียงราย เรียก "กล้วยทิพย์คุ้ม"
      กล้วยพญา มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
      กล้วยส้ม ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก "กล้วยหักมุก"