วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอพันดุ

มะละกอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาหารจากมะละกอ


 
มะละกอ มะละกอ มะละกอ ในครัวของหมอชาวบ้านเดือนนี้เต็มไปด้วยมะละกอทั้งดิบและสุก ตอนแรกเราคุยกันว่าจะทำอาหารจากมะละกอหลายประเภท เพื่อขานรับการแนะนำมะละกอในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าของคุณเดชา อาหารที่หลายๆ คนช่วยกันนึก (ด้วยความอยากกิน) คือ
  • ส้มตำ
  • แกงส้มมะละกอ
  • แกงเหลืองมะละกอ
  • แกงป่ามะละกอ
แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นร่วมกันว่า อาหารเหล่านี้ชาวหมอชาวบ้านคงกินกันจนเบื่อแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มตำ ซึ่งจะว่าไปแล้วสูตรของใครก็ของคนนั้น เราจึงเปลี่ยนแผนขอเป็นการทำอาหารจากมะละกอที่มักถูกมองข้าม คือ ผัดมะละกอ และมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก เพราะเวลาทำอาหารแบบนี้มะละกอมักถูกมองข้ามพืชผักชนิดอื่นมักถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่มะละกอเป็นพืพชผลที่หาได้ไม่ยาก ปลูกไว้ข้างบ้านสักต้นสองต้นก็พอกินได้ตลอดปี ที่สำคัญปลอดสารพิษฆ่าแมลง
คุณอาจจะลองทบทวนดูก็ได้ คุณจะพบว่า คุณมักผัดบวบใส่ไข่หรือใส่กุ้งบ่อยครั้ง แต่คุณแทบจะไม่นึกถึงมะละกอใส่ไข่เลย หรือเวลาคุณหาผักจิ้มน้ำพริก คุณจะนึกถึงชะอมมะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ หรือแม้แต่มะระขี้นก แต่ดิฉันอยากจะบอกคุณว่ามะละกอต้ม (จะราดกะทิหรือไม่ราดก็ได้) จิ้มน้ำพริกนั้นอร่อย ปลอดจากสารพิษ น่าลิ้มลองจริงๆ และเห็นจะขาดไม่ได้คือมะละกอสุกซึ่งกินได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างเยี่ยมยอด แต่หลายๆ คนไม่ชอบกินมะละกอสุก บางคนไม่ชอบกินเพราะเห็นมันเละๆ ดูท่าทางไม่น่าอร่อย
วันนี้ดิฉันมีข้อแนะนำในการปอกมะละกอสุกให้ดูน่ากิน เริ่มต้นดังนี้นะคะ
1. หั่นมะละกอตามขวาง ขนาดพอประมาณ
2. แบ่งเป็นส่วนๆ ถ้าใช้แนวร่องของมะละกอก็จะยิ่งสวย
3.ใช้มีดคมๆ ปอกเปลือกทีละชิ้น (ตามรูป)
เคล็ดลับ คือ พยายามลงมือไถไปเพียงครั้งเดียวในแต่ละขั้น และมือควรจะแห้งและสะอาด ก่อนปอกล้างเปลือกมะละกอให้สะอาด และหาผ้าเช็ดให้แห้งก่อน ลองปอกแบบนี้ดูนะคะ ไม่แน่ว่าคนที่ไม่ชอบมะละกออาจจะเปลี่ยนมาชอบก็ได้ อย่าลืมเก็บเมล็ดมะละกอไว้ปลูกด้วยนะคะ
มะละกอ
มะละกอขณะออกผล
มะละกอขณะออกผล
Commons
มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

[แก้] ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม
สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องเกี่ยวกับกล้วยๆๆๆๆๆๆๆ




ระวัติกล้วย
กล้วยประเทศไทย นั้น เดิมเป็นกล้วยป่าต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่น ในช่วงที่มีการอพยพของคนำทยในการตั้งถิ่นฐาน
อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารเขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ (1963) กล่าวว่า ในสมัยอยุธยาที่เขาได้เดินทางมาเขาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี และในปี ค.ศ. 2484 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมพันธุ์กล้วยไว้บ้างในบางช่วง และสูญหายไป ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวลรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันการปลูกกล้วยในประเทศไทย จอกจากจะปลูกเพื่อบริโภคในประเทศแล้ว ยังส่งกล้วยหอมทองไปขายยัง ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกงและยุโรป แต่ปริมาณการส่งออกลดลงทุกปี ๆ เพราะคุณภาพของกล้วยหอมทองไม่เหมาะในการส่งออกต่างประเทศเนื่อง จากสุกง่ายและเปลือกบาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำได้ทำการศึกษาถึงสายพันธุ์กล้วยซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศพบว่า ประเทศไทยสามารถ ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้ดี







 ชื่อวิทยาศาสตร์




 Musa sp.




 ชื่ออื่น ๆ
 ¡กล้วยไข่ , กล้วยใต้ , กล้วยส้ม กล้วยหอม , กล้วยนาก ,กล้วยน้ำว้า , กล้วยเล็บมือนาง , กล้วยหอมจันทร์ , กล้วยหักมุก , กล้วยมณีอ่อง




จำแนก
 
ประเภทใบ และ ประเภทลูก




ประเภทของกล้วย
กล้วย ทั่วโลกมีกล้วยอยู่ประมาณ 200-300 ชนิด สำหรับชนิดของกล้วยที่มีในประเทศไทยนั้นได้เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2524 ชึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. กล้วยป่าออร์นาตา ปลูกกันแถบภาคเหนือ นิยมเรียก "กล้วยบัว" หรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า "กล้วยป่า" (ลำปาง)2. กล้วยป่าอะคิวมินาตา กล้วยในกลุ่มนี้มีแพร่หลายในประเทศไทย แต่ละถิ่นอาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น ที่จังหวัดสงขลา เรียก "กล้วยทอง" ที่จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดลำปาง เรียก "กล้วยแข"3. กล้วยในสายพันธุ์อะคิวมินาตา คัลทิฟาร์ กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด ได้แก่
      กล้วยเล็บมือนาง ปลูกกันมากในภาคใต้ บางท้องถิ่น เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยหมาก" จังหวัดพัทลุง เรียก "กล้วยทองหมาก" ส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เรียก "กล้วยเล็บมือ"
      กล้วยทองร่วง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยไข่ทองร่วง" ที่จังหวัดสงขลา เรียก "ค่อมเบา"
      กล้วยไข่ ปลูกกันทั่วไป ที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก "เจ็กบง"
      กล้วยหอม ปลูกในสวนหลังบ้านแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      กล้วยหอมทองสาน ปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      กล้วยสา ปลูกกันมากภาคใต้
      กล้วยนมสาว ปลูกกันมากภาคใต้
      กล้วยลาย ปลูกกันมากภาคใต้
      กล้วยทองกาบดำ ปลูกกันมากภาคใต้เช่นกัน
      กล้วยนาก กล้วยชนิดนี้มีการเรียกต่างกันหลายแห่ง ที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยน้ำครั่ง" จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียก "กล้วยกุ้ง" ส่วนที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก "กล้วยครั่ง"
      กล้วยหอมทอง ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก "หอมทอง" นิยมรับประทานสดมากที่สุด
      กล้วยหอมเขียว ที่จังหวัดแพร่ เรียกกล้วยคร้าว จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยเขียวคอหักหรือกล้วยเขียว" ส่วนที่จังหวัดพะเยา เรียก "กล้วยหอมคร้าว"
      กล้วยกุ้งเขียว เป็นลูกผ่าเหล่าของกล้วยนาก ที่จังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยหอมทอง"
      กล้วยหอมค่อม ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก "กล้วยเตี้ย" จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก
      กล้วยไข่บอง ที่จังหวัดนครราชสีมา เรียก "กล้วยไข่พระตะบอง"
      กล้วยดอกไม้ เมื่อสุกผลจะเป็นสีทอง จัดอยู่พวกเดียวกับกล้วยหอมทอง
4. กล้วยป่าบาลบิเชียน่า นิยมเรียก "กล้วยตานี" มีแพร่หลายทั่วประเทศไทย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยพองลา" ส่วนที่จังหวัดแพร่และจังหวัดลำปาง เรียก "กล้วยป่า"5. กล้วยลูกผสมอะคิวมินาตากับบาลบิเชียน่า กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด ได้แก่
      กล้วยลังกา ที่จังหวัดพัทลุง เรียก "กล้วยจีน"
      กล้วยเงิน เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยาก มีเฉพาะที่จังหวัดสงขลา
      กล้วยน้ำพัด ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก "กล้วยน้ำกาบดำ"
      กล้วยทองเดช มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
      กล้วยนางนวล มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
      กล้วยไข่โบราณ มีเฉพาะที่จังหวัดตราด เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยากเช่นกัน
      กล้วยน้ำ มีหลายถิ่นเรียกต่างกัน ที่จังหวัดนครนายก เรียก "กล้วยหอมนางนวล" จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก "กล้วยแก้ว" จังหวัดสกลนายกและจังหวัดชัยภูมิ เรียก "กล้วยหอม" จังหวัดยโสธร เรียก "กล้วยหอมเล็ก" และที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียก "กล้วยหอมจันทร์"
      กล้วยขม เป็นกล้วยที่มีรสขมเช่นเดียวกับ ชื่อ ปลูกมากที่ภาคใต้
      กล้วยขมนาก ปลูกมากแภบภาถใต้
      กล้วยร้อยหวี หรือ กล้วยงวงช้าง ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย นิยมเป็นไม้ประดับ
      กล้วยนมหมี ที่จังหวัดอ่างทอง เรียก "กล้วยแหกคุก"
      กล้วยปลวกนา มีการปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครนายก เรียก "กล้วยน้ำไทย" จังหวัดยโสธร เรียก "กล้วยส้ม" และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก "กล้วยทิพย์ใหญ่"
      กล้วยน้ำว้า ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ที่จังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยน้ำว้าเหลือง" จังหวัดเชียงราย เรียก "กล้วยใต้"
      กล้วยน้ำว้าค่อม มีลักษณะแคระ กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้า
      กล้วยน้ำว้าขาว เนื้อของผลมีสีขาว กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้า
      กล้วยน้ำว้าแดง เนื้อของผลมีสีแดง กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้าเช่นกัน บางทีเรียกต่างกัน ที่จังหวัดชัยภูมิ เรียก "กล้วยอ่อง" จังหวัดนครสวรรค์ เรียก "กล้วยสุกไสแดง" ส่วนจังหวัดแพร่ เรียก "กล้วยน้ำว้าในออก"
      กล้วยเทพรส ที่จังหวัดเชียงราย เรียก "กล้วยทิพย์คุ้ม"
      กล้วยพญา มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
      กล้วยส้ม ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก "กล้วยหักมุก"




วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ก๊าซชีวภาพ (อังกฤษ: Biogas หรือ digester gas) หรือ ไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ ปราศจากออกซิเจน(anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะหมายถึง ก๊าซ มีเทน ที่เกิดจาก การหมัก (fermentation) ของ สารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิดก๊าซ ชีวภาพ แต่นี่เป็นเพียงแค่หลักการทางทฤษฏี

องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน(CH4) ประมาณ 50-70% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน(H2) ออกซิเจน(O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ไนโตรเจน(N) และไอน้ำ
ก๊าซชีวภาพมีชื่ออื่นอีกคือ ก๊าซหนองน้ำ และ มาร์ชก๊าซ (marsh gas) ขึ้นกับแหล่งที่มันเกิด กระบวนการนี้เป็นที่นิยมในการเปลี่ยน ของเสีย ประเภทอินทรีย์ทั้งหลายไปเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากกำจัดขยะได้แล้วยังทำลาย เชื้อโรค ได้ด้วย การใช้ก๊าซชีวภาพเป็น การบริหาร จัดการของเสีย ที่ควรได้รับการสนับสนุนเพราะไม่เป็นการเพิ่มก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศที่เป็นต้นเหตุของ ปรากฏการณ์เรือนกระจก(greenhouse effect) ส่วนการเผาไหม้ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลักจะสะอาดกว่า

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ความ เป็นมาของการผลิตก๊าซชีวภาพ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายผุพังของสารอินทรีย์ครั้ง แรกในศตวรรษที่ 17 โดย Robert Boyle และ Stephen Hale โดยทั้งสองได้พูดถึงการกวนตะกอนในลำธารและทะเลสาบซึ่งทำให้มีก๊าซที่สามารถ ติดไฟได้ลอยขึ้นมา ในปี 1859 Sir Humphrey Davy ได้กล่าวไว้ว่าในก๊าซที่เกิดจากขี้วัวนั้นมีก๊าซมีเทนอยู่ด้วย ในอินเดียในปี1859 ได้มีการสร้างถังหมักก๊าซในสภาวะไร้อากาศ(anaerobic digester)ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาในปี 1985 ในอังกฤษได้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาโดยใช้ถังสิ่งปฏิกูลผลิตก๊าซแล้ว นำก๊าซไปจุดไฟส่องสว่างตามถนน พอถึงปี1907 ก็ได้มีการออกสิทธิบัตรสำหรับถังหมักก๊าซชีวภาพในเยอรมนี
ในช่วงทศวรรษที่ 1930 การหมักก๊าซในสภาวะไร้อากาศก็เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงนักวิชาการกันมาก ขึ้น ได้มีการวิจัยค้นคว้าและพบจุลินทรีย์ที่เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาและมีการ ศึกษาถึงสภาวะแวดลัอมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เหล่านี้
ในชนบทในประเทศกำลังพัฒนา การใช้ก๊าซชีวภาพจากขยะทางการเกษตรหรือเศษอาหารจากครัวเรือน สามารถเป็นทางเลือกสำหรับพลังงานราคาถูก ไม่ว่าจะเพื่อแสงสว่างหรือการทำอาหาร ในช่วง 30 ปีทีผ่านมา ทั้งรัฐบาลของอินเดียและจีนต่างก็ได้ให้การสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพระดับ ครัวเรือนซึ่งนอกจากจะลดค่ายังชีพแล้ว ยังเป็นการลดภาระของโครงข่ายพลังงานของชาติด้วย ในประเทศพัฒนาแล้ว การนำเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพไปใช้ ยังเป็นการลดการปล่อยมลภาวะรวมถึงก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมที่นับวันจะ ยิ่งเสื่อมโทรมลง นอกจากนี้ยังมีผลผลิตพลอยได้ต่างๆ เช่นปุ๋ยอินทรีย์
ยิ่งในทุกวันนี้โลกกำลังเผชิญวิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤติพลังงาน ก๊าซชีวภาพจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นการช่วยแก้ทั้งสองปัญหา ปัจจุบันรัฐบาลของหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างก็ให้การส่งสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ และสนับสนุนผู้ที่ทำการผลิตก๊าซชีวภาพในรูปแบบต่างๆ

[แก้] การ ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพมานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ในระยะแรกจำกัดอยู่ในระดับครัวเรือนหรือเกษตรกรรายย่อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 คณะทำงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการสนับสนุนจากองค์การ GTZ (Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit) ประเทศเยอรมนี ได้จัดตั้ง "โครงการก๊าซชีวภาพไทย-เยอรมัน" ขึ้น เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ระบบก๊าซชีวภาพในช่วงเวลาที่ผ่านมา พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพให้มีความเหมาะสมในการ ประยุกต์ใช้กับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมากขึ้น
ปี พ.ศ. 2534 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบริการก๊าซชีวภาพ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ต่อเนื่องจากโครงการก๊าซชีวภาพไทย-เยอรมัน รวมทั้งเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประยุกต์ใช้ใน ฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และในปลายปี พ.ศ. 2538 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ สพช. (ปัจจุบัน คือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. กระทรวงพลังงาน) ได้ให้การสนับสนุนแก่หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ ดำเนินงาน "โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ระยะที่ 1" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2551 หน่วยบริการก๊าซชีวภาพได้รับการจัดตั้งเป็น "สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" และต่อมา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น "สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนคร พิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" ซึ่งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน

[แก้] กระบวน การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะปราศจากออกซิเจน(Anaerobic digestion)

ก๊าซชีวภาพเกิดจากการหมักของสารอินทรีย์โดยมีจุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรีย เช่นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างมีเทน (methane-producing bacteria)หรือเมทาโนเจน และจุลินทรีย์กลุ่มสร้างกรด (acid-producing bacteria) มาช่วยย่อยในสภาวะไร้อากาศ ในกระบวนการย่อยในสภาวะไร้อากาศ เป็นการที่จุลินทรีย์ต่างๆ ทำปฏิกิริยาย่อยสลายสารอินทรีย์ ลงจากสิ่งมีชีวิตซึ่งมีโครงสร้างที่ซับซ้อนลงเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยลง เป็นขั้นๆ ไป

[แก้] กระบวน การหมักย่อยในสภาวะไร้อากาศแบ่งเป็น 4 ขั้นดังนี้

  1. ไฮโดรลิซิส(Hydrolysis): สารอินทรีย์(เศษพืชผัก เนื้อสัตว์) มีองค์ประกอบสำคัญคือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน แบคทีเรียจะปล่อยเอ็นไซม์เอกซ์ตราเซลลูลาร์ (extra cellular enzyme) มาช่วยละลายโครงสร้างโมเลกุลอันซับซ้อนให้แตกลงเป็นโมเลกุลเชิงเดี่ยว (monomer) เช่นการย่อยสลายแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส การย่อยสลายไขมันเป็นกรดไขมัน และการย่อยโปรตีนเป็นกรดอะมิโน
  2. แอซิดิฟิเคชั่น หรือ แอซิโดเจเนซิส(Acidification/ Acidogenesis):การย่อยสลายสารอินทรีย์เชิงเดี่ยว (monomer)เป็นกรดระเหยง่าย (volatile fatty acid) กรดคาร์บอน แอลกอฮอลล์ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และไฮโดรเจน
  3. อะซิโตเจเนซิส (Acetogenesis) เปลี่ยนกรดระเหยง่ายเป็นกรดอะซิติกหรือเกลืออะซิเทตซึ่งเป็นสารตั้งต้นหลัก ในการผลิตมีเทน
  4. เมทาไนเซชั่น หรือ เมทาโนเจเนซิส (Methanization/Methanogenesis): กรดอะซิติก และอื่นๆ จากขั้น 2 รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนบางส่วน จะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนเป็นมีเทนโดยเมทาโนเจน (methanogen)

CH3COOH --> CH4 + CO2
กรดอะซิติก มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์
2CH3CH2OH + CO2 --> CH4 + 2CH3COOH
เอทานอล คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน กรดออะซิติก
CO2 + 4H2 --> CH44 + 2H2O
คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน มีเทน น้ำ

 

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554


สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์
ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 - 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้
2. ปุ๋ยคอกหมัก
วิธีทำ : นำมูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดมาผสม เข้าด้วยกัน นำน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลผสมน้ำรดกองปุ๋ยที่ผสมคลุกให้ทั่วให้มีความชื้นระดับเดียวกับ การทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โดยไม่ต้องกลับเมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
3. สารขับไล่แมลง
3.1) สูตรทั่วไป ส่วน ผสม : นำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล เหล้าขาว น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธีทำ : ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า - เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์ : นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสม น้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3.2) สูตรเข้มข้น วิธีทำ : ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
การ ใช้ประโยชน์ : ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน และแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนกอกลม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วนหัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม หรือใช้กำจัดเหาในศีรษะคน โดยเอาน้ำราดผมให้เปียกแล้วชะโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด หรือใช้กำจัดเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยง
4. ฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม : ประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก /ฟักทองแก่จัด /มะละกอสุก อย่างละ 1 ก.ก. น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ : สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก) จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง) จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 - 8 วัน
การ ใช้ประโยชน์ : นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
การประยุกต์ใช้กับพืชการเกษตร
1. ข้าว ในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 ก.ก. โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
- ไถ่พรวน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 ก.ก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากน้ำหมักพืช 2 แก้ว กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชทำการย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ด ข้าว เมื่อไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืช และกากน้ำตาล ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถคราดเพื่อดำนาต่อไป
- ไถคราด พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำ อัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไถคราดให้ทั่วเพื่อเตรียมปักดำ
- หลังปักดำ 7-15 วัน ให้หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว
- การป้องกันศัตรู ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น หรือถ้ามีต้องการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ให้เตรียมจากส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำสมสายชู 1 ลิตร + หล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้า ช่วงเตรียมดินในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ : ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 ก.ก. ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วปีต่อๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อไปๆ ไปปริมาณ ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และเพิ่มปริมาณผลผลิต

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

         กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพรไทย สรรพคุณ : สามารถ ช่วยสตรีเพิ่งคลอดให้แผลภายในสมานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังมี แคลเซียมสูงช่วยในการบำรุงกระดูกและเสริมสร้างเซลล์ใหม่ทำให้หน้าท้องไม่ลาย ผิวพรรณผ่องใส หากนำกระเจี๊ยบเขียวต้มน้ำแล้วเอาแต่เมือกเหนียว ๆ มาทางบริเวณผิวหนังที่เป็น ผด ผื่น คัน สามารถช่วยได้